บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้ทุกคนทำกิจกรรม แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น , ถุงมือ
วิธีทำที่ 1 พับกระดาษครึ่งแผ่น จากนั้นให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด (ข้างที่ไม่ได้เขียนหนังสือ) และนำมือที่ใส่ถุงมือทาบลงบนกระดาษ ใช้ดินสอวาด และวาดส่วนต่างๆของมือ เช่น เล็บ ฯลฯ (ห้ามเปิดดู)
วิธีทำที่ 2 ทำแบบวิธีที่ 1 เพียงแต่ถอดถุงมือออก และวาดในสิ่งที่เห็น
มือเราใช้ทุกวัน เห็นทุกวัน ถ้าเจอความเป็นจริงถ้าเราเป็นครูอนุบาลจริงๆ เราไม่สามารถเห็นเด็กอย่างนี้ได้ทุกวัน เด็กจะอยู่ติดกันใกล้ๆกันทุกวันแบบมือเราคงไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าเด็กที่อยู่ข้างกายเราทุกวี่ทุกวันจะจำรายละเอียดได้จริงหรือเปล่าคงไม่เช่นกัน เพราะฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันอย่าชะล่าใจว่าเราเห็นเด็กทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเทอมแล้วเราจะจำได้จะเหมาภาพรวมแล้วมาบันทึกในครั้งเดียว เน้นย้ำว่าในเรื่องการบันทึกพฤติกรรมเด็ก สังเกตและบันทึกจดเข้าไว้ว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง พฤติกรรมเป็นไงเพื่อให้เราเห็นพัฒนาการเขา บันทึกให้เป็น บันทึกเป็นช่วงๆ เห็นอะไรบันทึกลงไป ทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นระบบ หมายความว่าบันทึกอย่างเป็นระบบจริง ถามว่าถ้าเราเห็นเด็กทุกวัน เด็กมีอยู่ 28 คน แล้วถ้ามีเด็กพิเศษอยู่ 1 คนที่อยู่รวมกับเด็กหลายๆคน ถ้าเกิดว่าเห็นพฤติกรรมมาทั้งวัน แล้วจำมาบันทึกในตอนเย็น จะบันทึกไม่ได้จริง เทียบกับมืออันที่ 2 ที่มองเห็นแล้ววาดตามสิ่งที่เห็น บันทึกสิ่งที่เราเห็น ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า เพราะฉะนั้นเมื่อสังเกตพฤติกรรมเป็นอย่างไรควรบันทึก ณ ตอนนั้นเลย ซึ่งจะได้รายละเอียดที่มากกว่า และไม่ควรจำแล้วเก็บมาบันทึกทีเดียว
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติมครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้ทุกคนทำกิจกรรม แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น , ถุงมือ
วิธีทำที่ 1 พับกระดาษครึ่งแผ่น จากนั้นให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด (ข้างที่ไม่ได้เขียนหนังสือ) และนำมือที่ใส่ถุงมือทาบลงบนกระดาษ ใช้ดินสอวาด และวาดส่วนต่างๆของมือ เช่น เล็บ ฯลฯ (ห้ามเปิดดู)
วิธีทำที่ 2 ทำแบบวิธีที่ 1 เพียงแต่ถอดถุงมือออก และวาดในสิ่งที่เห็น
มือที่ 1 วาดด้วยถุงมือ มือที่ 2 วาดจากมือจริง
มือเราใช้ทุกวัน เห็นทุกวัน ถ้าเจอความเป็นจริงถ้าเราเป็นครูอนุบาลจริงๆ เราไม่สามารถเห็นเด็กอย่างนี้ได้ทุกวัน เด็กจะอยู่ติดกันใกล้ๆกันทุกวันแบบมือเราคงไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าเด็กที่อยู่ข้างกายเราทุกวี่ทุกวันจะจำรายละเอียดได้จริงหรือเปล่าคงไม่เช่นกัน เพราะฉะนั้นเด็กก็เหมือนกันอย่าชะล่าใจว่าเราเห็นเด็กทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเทอมแล้วเราจะจำได้จะเหมาภาพรวมแล้วมาบันทึกในครั้งเดียว เน้นย้ำว่าในเรื่องการบันทึกพฤติกรรมเด็ก สังเกตและบันทึกจดเข้าไว้ว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง พฤติกรรมเป็นไงเพื่อให้เราเห็นพัฒนาการเขา บันทึกให้เป็น บันทึกเป็นช่วงๆ เห็นอะไรบันทึกลงไป ทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นระบบ หมายความว่าบันทึกอย่างเป็นระบบจริง ถามว่าถ้าเราเห็นเด็กทุกวัน เด็กมีอยู่ 28 คน แล้วถ้ามีเด็กพิเศษอยู่ 1 คนที่อยู่รวมกับเด็กหลายๆคน ถ้าเกิดว่าเห็นพฤติกรรมมาทั้งวัน แล้วจำมาบันทึกในตอนเย็น จะบันทึกไม่ได้จริง เทียบกับมืออันที่ 2 ที่มองเห็นแล้ววาดตามสิ่งที่เห็น บันทึกสิ่งที่เราเห็น ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า เพราะฉะนั้นเมื่อสังเกตพฤติกรรมเป็นอย่างไรควรบันทึก ณ ตอนนั้นเลย ซึ่งจะได้รายละเอียดที่มากกว่า และไม่ควรจำแล้วเก็บมาบันทึกทีเดียว
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
- อบรมระยะสั้น , สัมมนา
- สื่อต่างๆ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง ในเรื่องพัฒนาการ
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ พูดคุย , ทักทาย , เข้าไปช่วยเหลือ
- รู้จักเด็กแต่ละคน ซึ่งเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- มองเด็กให้เป็น “เด็ก”
1. วุฒิภาวะ 2. แรงจูงใจ 3. โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ (การสอนจากปัญหาที่เกิด และเหมาะสอนเด็กพิเศษได้ดี)- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
- มีลักษณะง่ายๆ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
- มีสื่อของเล่นไม่ตายตัว
- สื่อที่เหมาะใช้ได้หลายอย่าง
- สื่อไม่แบ่งแยกเพศ
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
- คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (อย่ายึดติดกับแผนมากเกินไป)
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
เมื่อเด็กออทิสติกตีเพื่อน เมื่อเพื่อนแค่ขอดูของเล่น หรือจับของเล่น จุดประสงค์พฤติกรรมอย่างแรกที่เราต้องปรับ คือ ให้น้องเลิกตีเพื่อน คุยกับเพื่อนดีๆก่อน (อย่าสอนนอกจุดประสงค์)
การใช้สหวิทยาการ- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การรับฟังผู้อื่น อย่ามั่นใจตัวเองมากเกินเหตุ เช่น ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กเป็นหมอ เขาพูดอาการต่างๆ ฟังหูไว้หูก็อย่าไปเชื่องมงาย ฟังเพื่อนำความรู้มาปรับใช้
เด็กทุกคนสอนได้
เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส มากกว่าความสามารถเทคนิคการให้แรงเสริม- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
- ยิ่งชมเด็กยิ่งทำ
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย เช่น การกอด การลูบหัว หอมแก้ม ฯลฯ
- ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด ชมเฉพาะจุดประสงค์ที่ต้องการ
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
- ไม่ดุหรือตี
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
"ความคงเส้นคงวา" คนเป็นครูปฏิบัติกับเด็กเสมอต้นเสมอปลาย ต้นเทอมอย่างไรปลายเทอมก็เป็นอย่างนั้น
Post test
- การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
- การสอนโดนบังเอิญครูต้องพึงปฏิบัติอย่างไร
- ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
- การให้แรงเสริมต่อเด็ก มีวิธีการอย่างไรบ้าง
การนำไปประยุกต์ใช้
ในเรื่องการสังเกต บันทึกพฤติกรรมเด็ก ความรู้ตรงนี้สามารถนำไปใช้ในวันข้างหน้า วิธีการบันทึกเป็นช่วงๆ บันทึกอย่างเป็นระบบ และในเรื่องของกิจกรรมการวาดภาพสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ อาจจะมีวาดภาพมือแล้วต่อเติมระบายสี หรือสีน้ำ , สีเทียน ฯลฯ และสอนในหน่วยของร่างกายของฉันได้เป็นอย่างดี
การประเมินผล
ในเรื่องการสังเกต บันทึกพฤติกรรมเด็ก ความรู้ตรงนี้สามารถนำไปใช้ในวันข้างหน้า วิธีการบันทึกเป็นช่วงๆ บันทึกอย่างเป็นระบบ และในเรื่องของกิจกรรมการวาดภาพสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ อาจจะมีวาดภาพมือแล้วต่อเติมระบายสี หรือสีน้ำ , สีเทียน ฯลฯ และสอนในหน่วยของร่างกายของฉันได้เป็นอย่างดี
การประเมินผล
- การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ตอนที่ใส่ถุงมือ และวาดมือนึกรายละเอียดที่เป็นขีดๆตรงนิ้วไม่ค่อยออก ตอนลากเส้นโครงด้านนอกรู้สึกวาดไม่ถนัดเลย เดี๋ยวดินสอก็ติดถุงมือ และภาพวาดออกมามือก็ดูใหญ่น่าเกลียด แต่พอวาดมือตอนที่ไม่ต้องใส่ถุงมือรู้สึกว่าวาดได้ง่ายกว่ามากเลย รายละเอียดชัดกว่าและภาพออกมาก็ดูคล้ายมือจริงๆ
- การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจวาดภาพมือกันเต็มที่ มือเพื่อนบางคนก็แตกต่างกันออกไป บ้างก็มีขนเยอะ เล็บยาว เล็บสั้น มืออ้วน มือผอม
- การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน ร้องเพลงเพราะ มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำก่อนเรียนเนื้อหาซึ่งสอดคล้องกัน ทำให้เข้าใจ เห็นภาพเกี่ยวกับการบันทึกการสังเกตว่าถ้าเป็นครูที่ดีควรสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น