วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     วันนี้ไม่มีการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์จะไปสอนชดเชย และวันนี้เรียนวิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย แทน

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา รู้สึกคนเยอะเสียงดัง ฟังเวลาที่อาจารย์พูดไม่รู้เรื่อง
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ พูดคุยเสียงดัง เพราะเรียนร่วมกับเพื่อนอีกกลุ่ม
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการสอนเนื้อหาและอธิบายงานอย่างกระฉับรวดเร็ว เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
   
     วันนี้อาจารย์สอบข้อเขียน รายวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำข้อสอบ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจทำข้อสอบ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ คอยเดินคุมสอบ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

กิจกรรมแรก ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา (มีภาพประกอบ)
คำถาม : 1.เดินเข้าไปในไร่สตรอว์เบอร์รี่ มีรั่วกั้นอยู่คิดว่าสูงเท่าไหร่
              2.จะกินสตรอว์เบอร์รี่กี่ลูก
              3.ถ้าเจ้าของมาเห็น วิ่งตะโกนและไล่ เราจะรู้สึกอย่างไร
              4.ถ้าออกไปจากไล่แล้วเรารู้สึกอย่างไร

ความรู้ที่ได้รับวันนี้

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 
การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
      - การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

เพลงเด็กปฐมวัย

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตั


       เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอามาใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ (ซ้ำ *)

กิจกรรมบำบัด
ตัวอย่าง

<<< กระดาษร้อยปอนด์









<<<ใช้สีเทียนวาดเป็นวงกลมวนไปเรื่อยๆ และวาดวงกลมไล่สีเทียนสีอื่นไปเรื่อยๆ (ห้ามซ้ำสีเดิม) ขนาดของวงกลมแล้วแต่ความต้องการ ใหญ่-เล็ก
วงกลมของฉัน

ลำต้น
อาจารย์ให้ทุกคนนำวงกลมของตนเองไปติดบนลำต้น

ต้นไม้วิเศษ
เพื่อนๆนำวงกลมมาติดจนกลายเป็นต้นไม้วิเศษที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยใบไม้สีสันสดใส

กิจกรรมบำบัด พัฒนาการของเด็ก กล้ามเนื้อมือ มิติสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ การแสดงออกตามจินตนาการ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ สภาวะจิตใจของแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนเด็กทีละขั้น ย่อยงาน และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน ชอบระบายสีเข้มๆ แต่รู้สึกว่าวาดไม่ค่อยกลมเท่าไหร่
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม ส่วนมากเพื่อนๆระบายสีอ่อนและวาดวงกลมใหญ่
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย ร้องเพลงไพเราะ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา


     คำถาม : ถ้านักศึกษาไปเที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า นั่งชมวิวบนรถดูสัตว์ต่างๆ แต่เมื่อเห็นภาพที่สิงโตกำลังกินม้าลายอยู่ จะรู้สึกอย่างไร?

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
     ตัวอย่างภาพด้านบนภาพแรก ถ้าเป็นเด็กปกติ ครูไม่ควรเสนอตัวเข้าไปช่วย ถ้าเป็นเด็กพิเศษยืนผูก ครูควรบอกบท จุดประสงค์ต้องการให้น้องใช้ภาษาบอกครู ถ้าเด็กไม่ตอบครูต้องใช้วิธีบอกบท "ไหนผูกผ้ากันเปื้อน" ให้เด็กพูดผูกผ้ากันเปื้อนซ้ำๆ ครูก็พูดซ้ำไปมาเรื่อยๆ ถ้าเด็กพูดตามครูจึงช่วยผูกให้ได้ แต่ถ้าน้องไม่ตอบสนองเลยก็ผูกให้ไปเลย

     เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้ทบทวนโดยตอบคำถาม Post Test และร้องเพลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
คำถาม : ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรมบำบัด
          อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้ใช้สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆตามจินตนาการ (แต่ห้ามเป็นเส้นโค้ง) พอเพลงหยุดให้หยุดทำ
อุปกรณ์ 1.สีเทียน  2.กระดาษร้อยปอนด์
ภาพที่ลากเส้นตามจินตนาการ

     ภาพที่อาจารย์ให้ระบายสีลงไปตามช่องต่างๆที่มีเส้นกั่นใช้สีสลับกัน ภาพสามารถบอกอารมณ์ของผู้ทำได้เป็นอย่างดี

ภาพสร้างสรรค์จากกิจกรรมบำบัด
     กิจกรรมบำบัด พัฒนาการของเด็ก ฝึกสมาธิ มิติสัมพันธ์ สังคม การแสดงออก ภาษา ความคิดสร้างสรรค์ สภาวะจิตใจของแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนตามเหตุการณ์ มีเทคนิคการสอนที่ดี และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน แต่ตอนที่รู้ว่าต้องระบายสีในช่องให้หมดพูดไม่ออกเลย รีบตั้งใจระบายเพราะช่องเยอะมาก ส่วนภาพของเพื่อนๆที่จินตนาการล่ำเลิศมาก และเพลงสัปดาห์นี้ร้องยากแต่ฟังเสียงอาจารย์ร้องเพราะ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม จินตนาการสร้างสรรค์กันมาก
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย มีการพูดคุยแชร์ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  2 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยาของญี่ปุ่น
ความรู้ที่ได้รับ มีดังนี้
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     1. ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย “การพูดนำของครู”

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

เมื่อเรียนเนื้อหาจบ อาจารย์สอนร้องเพลง 5 เพลงดังนี้



เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายทองเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วเหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน



เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย     สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา     แสงพราวตาเวลาค่ำคืน




เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ



เพลง กุหลาบ
                                   กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
                                  จะเด็ดดมระวังกายา
                                  งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
                                เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
          ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
          จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู


เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย




กิจกรรมบำบัด
     อาจารย์ให้จับคู่ 2 คนโดยสมมุติว่าคนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษ และอีกคนเป็นเด็กปกติ เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้เด็กปกติใช่สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆตามจินตนาการ ส่วนคนที่เป็นเด็กพิเศษเขียนจุดกลมๆลงไปในช่องที่มีรูปวงกลม พอเพลงหยุดให้หยุดทำ

อุปกรณ์ 1.กระดาษร้อยปอนด์ 2.สีเทียน
     จากนั้นมองภาพ(ด้านล่างภาพแรก)ว่าเส้นที่เราลากนั้นมองแล้วเกิดเป็นรูปร่างอะไรได้บ้าง
ภาพขีดลากเส้นตามอิสระและจุดในวงกลม      สร้างภาพจากลายเส้นตามจินตนาการ
ภาพตัวอย่างผลงานน้องๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
     การเสริมแรงเด็กในทางที่ดี และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ชอบกิจกรรมต้นชั่วโมงเฮฮา และทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน แต่ตอนที่มองภาพแล้วสร้างเป็นรูปร่างยากมากค่ะ เพราะมองไม่ออกเลย เลยคิดว่าวาดออกมาไม่ค่อยสวย และได้เห็นภาพของเพื่อนๆที่จินตนาการล่ำเลิศมาก และเพลงสัปดาห์นี้ร้องยากแต่ฟังเสียงอาจารย์ร้องเพราะจัง
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม จินตนาการสร้างสรรค์กันมาก
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย ร้องเพลงเพราะเสียงนุ่มๆ มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย มีการพูดคุยแชร์ความคิดเห็นท้ายคาบ