วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา


     คำถาม : ถ้านักศึกษาไปเที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า นั่งชมวิวบนรถดูสัตว์ต่างๆ แต่เมื่อเห็นภาพที่สิงโตกำลังกินม้าลายอยู่ จะรู้สึกอย่างไร?

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
     ตัวอย่างภาพด้านบนภาพแรก ถ้าเป็นเด็กปกติ ครูไม่ควรเสนอตัวเข้าไปช่วย ถ้าเป็นเด็กพิเศษยืนผูก ครูควรบอกบท จุดประสงค์ต้องการให้น้องใช้ภาษาบอกครู ถ้าเด็กไม่ตอบครูต้องใช้วิธีบอกบท "ไหนผูกผ้ากันเปื้อน" ให้เด็กพูดผูกผ้ากันเปื้อนซ้ำๆ ครูก็พูดซ้ำไปมาเรื่อยๆ ถ้าเด็กพูดตามครูจึงช่วยผูกให้ได้ แต่ถ้าน้องไม่ตอบสนองเลยก็ผูกให้ไปเลย

     เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้ทบทวนโดยตอบคำถาม Post Test และร้องเพลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
คำถาม : ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรมบำบัด
          อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้ใช้สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆตามจินตนาการ (แต่ห้ามเป็นเส้นโค้ง) พอเพลงหยุดให้หยุดทำ
อุปกรณ์ 1.สีเทียน  2.กระดาษร้อยปอนด์
ภาพที่ลากเส้นตามจินตนาการ

     ภาพที่อาจารย์ให้ระบายสีลงไปตามช่องต่างๆที่มีเส้นกั่นใช้สีสลับกัน ภาพสามารถบอกอารมณ์ของผู้ทำได้เป็นอย่างดี

ภาพสร้างสรรค์จากกิจกรรมบำบัด
     กิจกรรมบำบัด พัฒนาการของเด็ก ฝึกสมาธิ มิติสัมพันธ์ สังคม การแสดงออก ภาษา ความคิดสร้างสรรค์ สภาวะจิตใจของแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนตามเหตุการณ์ มีเทคนิคการสอนที่ดี และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน แต่ตอนที่รู้ว่าต้องระบายสีในช่องให้หมดพูดไม่ออกเลย รีบตั้งใจระบายเพราะช่องเยอะมาก ส่วนภาพของเพื่อนๆที่จินตนาการล่ำเลิศมาก และเพลงสัปดาห์นี้ร้องยากแต่ฟังเสียงอาจารย์ร้องเพราะ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม จินตนาการสร้างสรรค์กันมาก
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย มีการพูดคุยแชร์ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น