วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  20 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

กิจกรรมแรก ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา
คำถาม
1.เห็นเพื่อนกระโดดไปแล้ว พอถึงคิวเราแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร
2.เมื่อเรากระโดดลงไปแล้วจะรู้สึกอย่างไร
3.เมื่อลงมาถึงพื้นด้านล่าง คิดว่าครูฝึกจะเดินเข้ามาพูดว่าอะไร

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
     เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
     ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
  • นิทานไม่ยาวหนัก สั้นกระฉับ
  • นิทานน่าสนใจ ตัวภาพมีสีสัน
การเลียนแบบ (เพื่อน, ครู, พ่อแม่, คนรอบๆตัวเด็ก)
     การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ (เด็กดาวน์หรือเด็กสมาธิสั้นหูไม่ค่อยดี)
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
     การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  ---------->>  ตอบสนองอย่างเหมาะสม
     การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
      จากภาพกรรไกรหมายเลย 1 เหมาะกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด
1.ขนาดพอเหมาะ
2.หูกรรไกรพอดีกับนิ้วมือเด็ก
3.หัวทู่
การตัดกระดาษ ควรตีเส้น เช่น เส้นปะ, เส้นทึบ ฯลฯ สีอะไรก็ได้ และกระดาษไม่ใหญ่ไม่มีความกว้างมากนัก
วิธีการสอน ให้เด็กถือกรรไกร ครูถือกระดาษให้ แล้วยื่นกระดาษให้น้องตัดกระดาษจนครบเส้นที่ครูทำรอยไว้

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ให้เด็กต่อรูปตามแบบที่ครูตั้งไว้ให้
แบบที่ครูกำหนด
     ครูให้เด็ก 3 คน ออกมาทีละคน เลือกแล้วหยิบวางให้ตรงกับแบบ ถ้าเด็กหยิบผิด ครูควรพูดชี้นำ "ใช่ไหมน้า" "อันไหนน้ารูปกลมๆสีฟ้า" เป็นต้น
ให้เด็กสลับกันออกมาวางจนครบ

     ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • การนับ
  • การวัด
  • การจำแนก
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดหมวดหมู่
  • การสังเกต
  • การสำรวจ
  • การทดลอง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนเด็กทีละขั้น ย่อยงาน ถ้าเด็กพิเศษทำไม่ได้ครูควรมีเทคนิคในการชี้นำเด็กให้เหมาะสม ไม่ควรรีบเร่งเด็ก และการเลือกกรรไกรหรืออุปกรณ์ต่างๆควรเลือกที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อเด็กพิเศษและเด็กปกติ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม 
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม และจดบันทึก พร้อมทั้งร่วมตอบคำถามต่างๆ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย ร้องเพลงไพเราะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น