วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่17

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  28 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 17 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     วันนี้เป็นวันปิดคอร์ส เรียนวันสุดท้าย มีการสอบร้องเพลงเป็นรายบุคคล 1 เพลง คะแนนเต็ม 5 คะแนน  ซึ่งอาจารย์จะจับฉลากเลขที่ ได้เลขที่คนไหนให้ออกมาจับฉลากเพลง และร้องเพลงนั้น โดยกติกา มีดังนี้
     1.เมื่อจับได้เพลงไหน ถ้าร้องไม่ได้ต้องการเปลี่ยนสามารถจับฉลากเพลงใหม่ได้ 1 ครั้ง
     2.ให้เพื่อนร้องเพลงให้ฟังได้ 1 ครั้ง
     3.ขณะร้องสามารถดูเนื้อเพลงได้
     กติกาข้างต้นที่กล่าวมา ถ้าใช้ตัวช่วยเหล่านี้ คะแนนก็จะลดลงมา แต่ถ้าคนไหนที่ไม่ใช้เลยก็จะได้ 5 คะแนนเต็ม (ขณะร้องให้เคาะแทมมารีน หรือเครื่องเคาะจังหวะด้วย)

ขณะที่เพื่อนๆออกไปสอบร้องเพลง
เพลงที่ดิฉันจับฉลากได้ คือ
เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

     หลังจากสอบร้องเพลงครบทุกคนแล้ว อาจารย์สอนเกี่ยวกับการเขียนแผน IEP เมื่อสอนเสร็จให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ในกลุ่มช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผน IEP

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 
(Individualized Education Program)
แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล 
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก 
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ 
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
   การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น 
   จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
     –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
     –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
     –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
   จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  •  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร
  • พฤติกรรมอะไร
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
          - ใคร                            อรุณ 
          - อะไร                          กระโดดขาเดียวได้ 
          - เมื่อไหร่ / ที่ไหน        กิจกรรมกลางแจ้ง 
          - ดีขนาดไหน               กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
          1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
          2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
          3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล 
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การจัดทำ IEP

ตัวอย่าง
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program: IEP)


งานกลุ่ม
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program: IEP)

สมาชิกกลุ่มเรียน 104

การนำไปประยุกต์ใช้
     การเขียนแผน IEP ไปประยุกต์ในการเขียนแผนเด็กปกติได้
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม และตั้งใจสอบร้องเพลง ทั้งให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มให้เสร็จ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจสอบร้องเพลง และจดบันทึก พร้อมทั้งร่วมตอบคำถามต่างๆ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผน IEP

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  20 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

กิจกรรมแรก ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา
คำถาม
1.เห็นเพื่อนกระโดดไปแล้ว พอถึงคิวเราแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร
2.เมื่อเรากระโดดลงไปแล้วจะรู้สึกอย่างไร
3.เมื่อลงมาถึงพื้นด้านล่าง คิดว่าครูฝึกจะเดินเข้ามาพูดว่าอะไร

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
     เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
     ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
  • นิทานไม่ยาวหนัก สั้นกระฉับ
  • นิทานน่าสนใจ ตัวภาพมีสีสัน
การเลียนแบบ (เพื่อน, ครู, พ่อแม่, คนรอบๆตัวเด็ก)
     การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ (เด็กดาวน์หรือเด็กสมาธิสั้นหูไม่ค่อยดี)
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
     การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น  ---------->>  ตอบสนองอย่างเหมาะสม
     การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  • ต่อบล็อก
  • ศิลปะ
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
      จากภาพกรรไกรหมายเลย 1 เหมาะกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด
1.ขนาดพอเหมาะ
2.หูกรรไกรพอดีกับนิ้วมือเด็ก
3.หัวทู่
การตัดกระดาษ ควรตีเส้น เช่น เส้นปะ, เส้นทึบ ฯลฯ สีอะไรก็ได้ และกระดาษไม่ใหญ่ไม่มีความกว้างมากนัก
วิธีการสอน ให้เด็กถือกรรไกร ครูถือกระดาษให้ แล้วยื่นกระดาษให้น้องตัดกระดาษจนครบเส้นที่ครูทำรอยไว้

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ให้เด็กต่อรูปตามแบบที่ครูตั้งไว้ให้
แบบที่ครูกำหนด
     ครูให้เด็ก 3 คน ออกมาทีละคน เลือกแล้วหยิบวางให้ตรงกับแบบ ถ้าเด็กหยิบผิด ครูควรพูดชี้นำ "ใช่ไหมน้า" "อันไหนน้ารูปกลมๆสีฟ้า" เป็นต้น
ให้เด็กสลับกันออกมาวางจนครบ

     ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • การนับ
  • การวัด
  • การจำแนก
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดหมวดหมู่
  • การสังเกต
  • การสำรวจ
  • การทดลอง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนเด็กทีละขั้น ย่อยงาน ถ้าเด็กพิเศษทำไม่ได้ครูควรมีเทคนิคในการชี้นำเด็กให้เหมาะสม ไม่ควรรีบเร่งเด็ก และการเลือกกรรไกรหรืออุปกรณ์ต่างๆควรเลือกที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อเด็กพิเศษและเด็กปกติ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม 
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม และจดบันทึก พร้อมทั้งร่วมตอบคำถามต่างๆ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย ร้องเพลงไพเราะ

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  13 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดยาววันสงกรานต์ 13-15 เมษายน 2558

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - สงกรานต์ปีนี้ไม่ได้ไปเล่นน้ำที่ไหนเลยค่ะ กลับบ้านคุณยายพร้อมกับนำการบ้านไปทำด้วย ทำการบ้านหนักมาก ปวดเอว ปวดหลัง แต่ตอนเช้าก็มีไปทำบุญที่วัด สรงน้ำพระ

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  20 เมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันจักรีมหาราช วันที่ 6 เมษายน 2558

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     วันนี้ไม่มีการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์จะไปสอนชดเชย และวันนี้เรียนวิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย แทน

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา รู้สึกคนเยอะเสียงดัง ฟังเวลาที่อาจารย์พูดไม่รู้เรื่อง
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ พูดคุยเสียงดัง เพราะเรียนร่วมกับเพื่อนอีกกลุ่ม
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ มีการสอนเนื้อหาและอธิบายงานอย่างกระฉับรวดเร็ว เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
   
     วันนี้อาจารย์สอบข้อเขียน รายวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำข้อสอบ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจทำข้อสอบ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ คอยเดินคุมสอบ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

กิจกรรมแรก ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา (มีภาพประกอบ)
คำถาม : 1.เดินเข้าไปในไร่สตรอว์เบอร์รี่ มีรั่วกั้นอยู่คิดว่าสูงเท่าไหร่
              2.จะกินสตรอว์เบอร์รี่กี่ลูก
              3.ถ้าเจ้าของมาเห็น วิ่งตะโกนและไล่ เราจะรู้สึกอย่างไร
              4.ถ้าออกไปจากไล่แล้วเรารู้สึกอย่างไร

ความรู้ที่ได้รับวันนี้

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 
การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
      - การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

เพลงเด็กปฐมวัย

เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1 วันได้ไข่ 1 ฟอง


เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตั


       เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอามาใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ (ซ้ำ *)

กิจกรรมบำบัด
ตัวอย่าง

<<< กระดาษร้อยปอนด์









<<<ใช้สีเทียนวาดเป็นวงกลมวนไปเรื่อยๆ และวาดวงกลมไล่สีเทียนสีอื่นไปเรื่อยๆ (ห้ามซ้ำสีเดิม) ขนาดของวงกลมแล้วแต่ความต้องการ ใหญ่-เล็ก
วงกลมของฉัน

ลำต้น
อาจารย์ให้ทุกคนนำวงกลมของตนเองไปติดบนลำต้น

ต้นไม้วิเศษ
เพื่อนๆนำวงกลมมาติดจนกลายเป็นต้นไม้วิเศษที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยใบไม้สีสันสดใส

กิจกรรมบำบัด พัฒนาการของเด็ก กล้ามเนื้อมือ มิติสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ การแสดงออกตามจินตนาการ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ สภาวะจิตใจของแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนเด็กทีละขั้น ย่อยงาน และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน ชอบระบายสีเข้มๆ แต่รู้สึกว่าวาดไม่ค่อยกลมเท่าไหร่
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม ส่วนมากเพื่อนๆระบายสีอ่อนและวาดวงกลมใหญ่
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย ร้องเพลงไพเราะ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  9 มีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

วันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหา อาจารย์มีกิจกรรมดีๆให้ทุกคนทำแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา


     คำถาม : ถ้านักศึกษาไปเที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า นั่งชมวิวบนรถดูสัตว์ต่างๆ แต่เมื่อเห็นภาพที่สิงโตกำลังกินม้าลายอยู่ จะรู้สึกอย่างไร?

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
     ตัวอย่างภาพด้านบนภาพแรก ถ้าเป็นเด็กปกติ ครูไม่ควรเสนอตัวเข้าไปช่วย ถ้าเป็นเด็กพิเศษยืนผูก ครูควรบอกบท จุดประสงค์ต้องการให้น้องใช้ภาษาบอกครู ถ้าเด็กไม่ตอบครูต้องใช้วิธีบอกบท "ไหนผูกผ้ากันเปื้อน" ให้เด็กพูดผูกผ้ากันเปื้อนซ้ำๆ ครูก็พูดซ้ำไปมาเรื่อยๆ ถ้าเด็กพูดตามครูจึงช่วยผูกให้ได้ แต่ถ้าน้องไม่ตอบสนองเลยก็ผูกให้ไปเลย

     เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้ทบทวนโดยตอบคำถาม Post Test และร้องเพลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
คำถาม : ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรมบำบัด
          อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน เมื่ออาจารย์เปิดเพลงให้ใช้สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆตามจินตนาการ (แต่ห้ามเป็นเส้นโค้ง) พอเพลงหยุดให้หยุดทำ
อุปกรณ์ 1.สีเทียน  2.กระดาษร้อยปอนด์
ภาพที่ลากเส้นตามจินตนาการ

     ภาพที่อาจารย์ให้ระบายสีลงไปตามช่องต่างๆที่มีเส้นกั่นใช้สีสลับกัน ภาพสามารถบอกอารมณ์ของผู้ทำได้เป็นอย่างดี

ภาพสร้างสรรค์จากกิจกรรมบำบัด
     กิจกรรมบำบัด พัฒนาการของเด็ก ฝึกสมาธิ มิติสัมพันธ์ สังคม การแสดงออก ภาษา ความคิดสร้างสรรค์ สภาวะจิตใจของแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
     การสอนตามเหตุการณ์ มีเทคนิคการสอนที่ดี และในเรื่องของกิจกรรมบำบัดในอนาคตถ้าได้เป็นครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนในหน่วยหรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพื่อฝึกจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ได้ทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีการใช้อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ สีชอลค์ ฯลฯ

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ทำกิจกรรมบำบัดสนุกสนาน แต่ตอนที่รู้ว่าต้องระบายสีในช่องให้หมดพูดไม่ออกเลย รีบตั้งใจระบายเพราะช่องเยอะมาก ส่วนภาพของเพื่อนๆที่จินตนาการล่ำเลิศมาก และเพลงสัปดาห์นี้ร้องยากแต่ฟังเสียงอาจารย์ร้องเพราะ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม จินตนาการสร้างสรรค์กันมาก
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำให้เล่นไม่น่าเบื่อเลย มีการพูดคุยแชร์ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ