วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  26 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำ โดยแจกกระดาษ 1 แผ่น สีไม้คนละ 1 กล่อง พร้อมกบเหลาดินสอ คำสั่ง : วาดภาพดอกบัวให้เหมือนที่สุด

ภาพตัวแบบ
ดอกบัวของฉัน
     การเขียนบรรยายแบบถูกตรงไม่เติมแต่งความรู้สึก (การบันทึกการสังเกตของครูต่อเด็ก) เช่น ดอกบัวสีชมพู มี 14 กลีบ เกสรสีเหลือง ก้านสีเขียว

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
  • การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  • จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  • เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  • ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  • เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  • พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  • พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  • ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  • ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  • ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
  • ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  • ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  • สังเกตเด็กอย่างมีระบบ (มีการวางแผน , สังเกต , จดบันทึก)
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา


การตรวจสอบ
  • จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  • เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  • บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  • ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  • ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  • พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  • การนับอย่างง่ายๆ
          - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม เช่น กระทืบเท้าเมื่อไม่พอใจ
          - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
          - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
  • การบันทึกต่อเนื่อง
          - ให้รายละเอียดได้มาก
          - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
          - โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ (ระหว่างที่สังเกตหรือเด็กหันมาหาครู ครูห้ามไปยุ่งระหว่างที่สังเกตอยู่)
  • การบันทึกไม่ต่อเนื่อง (ต้องการความฉับไว)
          - บันทึกลงบัตรเล็กๆ (อย่าไปเขียนเยอะ เขียนสิ่งที่เห็น)
          - เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

ตัวอย่างในการบันทึก
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



เพลง ผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์



เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี



เพลง ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

     หลังจากนั้นเขียนตอบคำถามทบทวนสิ่งที่เรียนไป
     1.ให้นักศึกษาบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียนรวม
     2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้าง และแต่ละรูปแบบมีวิธีในการสังเกตเด็กอย่างไร

การนำไปประยุกต์ใช้
     ในความรู้เรื่องการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กสามารถนำไปเป็นแนวทางได้อย่างดี อย่างกิจกรรมวาดภาพที่ได้ทำควรเขียนบันทึกในสิ่งที่เห็น ไม่ควรเติมแต่งความรู้สึกข้างในลงไป ก็เหมือนกับเด็กๆ และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้ฝึกร้องในวันนี้ก็สามารถนำไปสอนในขั้นนำหน่วยผักผลไม้ต่างๆที่เราจะสอน ก่อนเข้าเนื้อหาได้

การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจวาดภาพระบายสีดอกบัว รู้สึกวาดไม่สวยเท่าไหร่ดูไม่เหมือนดอกบัวเลย แต่ทำสุดความสามารถ อาจารย์ให้โจทย์ยากเวลามีจำกัดด้วย อารมณ์ศิลปินเลยยังไม่เกิด 
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด หัวเราะไม่หยุดทำให้บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียดรู้สึกชอบผ่อนคลาย ทุกคนตั้งใจวาดดอกบัวกันมาก วาดสวย บางคนก็ลงสีสวย ดอกบัวก็แตกต่างกันออกไปตามมุมมองของแต่ละคน การเขียนบรรยายดอกบัวก็หลากหลาย
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำก่อนเรียนเนื้อหาซึ่งสอดคล้องกัน ทำให้เข้าใจ เห็นภาพเกี่ยวกับการบันทึกการสังเกตว่าถ้าเป็นครูควรบันทึกอย่างไร เนื้อหาละเอียด และการสอนร้องเพลง อาจารย์ก็เสียงนุ่มนิ่มไพเราะ แต่อาทิตย์นี้รู้สึกเพลงร้องยาก

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  19 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     อาจารย์ทบทวนการร้องเพลง โดยให้ร้องเพลงหนึ่งรอบก่อนเข้าเนื้อหา ซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้ มีดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education) เชื่อว่ามีในไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
     เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา อาจจะเข้ามาวิชา พละ, ศิลปะ, ดนตรี
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  • มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  • เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา (ต่างจากเรียนร่วม)
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
     เรียนร่วม เด็กพิเศษคนนั้นจะอยู่ในความดูแลของหน่วยงานหรือศูนย์การศึกษาพิเศษ หน่วยงานประสานกับโรงเรียนเพื่อขอให้เด็กเรียนร่วมกับเพื่อนๆ
     เรียนรวม เด็กพิเศษเข้ามาในโรงเรียนเลยตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ได้อยู่ในสังกัดของหน่วยงาน หรือศูนย์การศึกษาพิเศษ
     Wilson, 2007 ได้ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน ซึ่งเน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม ทำให้สังคมดีขึ้น เริ่มต้นจากครอบครัว ในห้องเรียน และกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
     มีผลงานวิจัยออกมาว่า การศึกษาพิเศษ และการศึกษาแบบเรียนรวม ผลที่ออกมาเด็กมีพัฒนาการเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กจะมีทักษะทางด้านสังคม การใช้ภาษาร่วมกับเพื่อน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  • เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  • เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของเขา
  • เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all)
  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก (โรงเรียนไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเด็ก)
  • เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ "รวมกัน" ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุคนยอมรับซึ่งกันและกัน
  • ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (เป็นการศึกษาขั้นเริ่มต้น)
  • ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  • "สอนได้" (เป็นวัยที่สอนได้ง่าย) 
  • เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด ความหมายของประโยคที่ขีดเส้นใต้ คือ สิ่งที่มาขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ต้องน้อยที่สุด
     หลังจากเรียนเสร็จท้ายคาบอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ตอบคำถามทบทวนความรู้ที่ได้เรียนไป มีทั้งหมด 3 ข้อ โดยห้ามดูในชีส
การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้เด็กทั้งปกติและเด็กพิเศษ การจัดแบบเรียนรวมเน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม ทำให้สังคมดีขึ้น เริ่มจากในห้องเรียน จัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนุกสนานเฮฮาที่อาจารย์สอนให้ทำท่าทางในการปรบมือร้องเพลง เวลาเรียนตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอนและจดบันทึกรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากในชีส และตั้งใจทำกระดาษตอบคำถามท้ายคาบด้วยตนเอง
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด หัวเราะไม่หยุดทำให้บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียดรู้สึกชอบผ่อนคลาย ตอนร้องเพลงทุกคนจำทำนองจังหวะได้และดูทุกคนตั้งใจปรบมือให้ความร่วมมือกันอย่างสามัคคี ผลงานที่ออกมาได้รับคำชม
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน มีการสอนเทคนิคการปรบมือให้ดูดีมุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง และการสอนอาจารย์อธิบายละเอียด ทำให้รู้ว่า เรียนรวมกับ เรียนร่วมนั้นความหมายต่างกัน และมีการแชร์เล่าประสบการณ์ต่างๆ

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  12 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     วันนี้อาจารย์พูดคุยถึงประสบการณ์จากการที่ได้ไปออกค่ายอาสาสมัครที่จังหวัดบุรีรัมย์ กับรุ่นพี่ปี 4 ซึ่งเป็น โครงการ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงการร่วมด้วยช่วยกันทาสีห้องเรียน จัดมุมการศึกษาต่างๆ จากนั้นอาจารย์เฉลยข้อสอบเทอมที่แล้วที่เพิ่งสอบมาเพื่อทบทวนนักศึกษาอีกครั้ง พร้อมทั้งอธิบายแนวการสอนการให้คะแนน ดังนี้
     - บล็อก 30 คะแนน
     - จิตพิสัย 20 คะแนน (การเข้าเรียน, การแต่งกาย)
     - เขียนแผน IEP 10 คะแนน
     - กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน 40 คะแนน


     เมื่อชี้แจงเสร็จอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ในนั้นมีคำถามเกี่ยวความรู้เดิมจากวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ไม่มีคะแนน ไม่ส่งผลใดๆ ซึ่งอาจารย์อยากทบทวนความรู้เดิมของเด็กๆเท่านั้น หลังจากเขียนเสร็จกันครบทุกคนอาจารย์ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรม แจกกระดาษคนละแผ่นซึ่งในนั้นมีเนื้อเพลงอยู่ 5 เพลง พร้อมทั้งสอนนักศึกษาร้องเพลงหลายรอบกันทีเดียว เพื่อให้ทุกคนร้องออกมาอย่างไพเราะไม่เพี้ยงน่าฟัง


เพลง นม
          นมเป็นอาหารดี   มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ             ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง           ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ             ร่างกายแข็งแรง




เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า    ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถู่ตัว  ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว    เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว   สุขกายสบายใจ


       เพลง แปรงฟัน
     ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี ดูซิต้องแปรงขึ้นลง



เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้ง น้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน


เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเพลงไปประยุกต์ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ หรือใช้ร้องเป็นขั้นนำก่อนที่เราจะสอนเกี่ยวหน่วยนั้นๆ
การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ทบทวนความรู้เดิม และสนุกสนานกับประสบกาณ์ต่างๆที่อาจารย์นำมาแชร์ให้ฟัง และตอนเขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษเล่นเอานึกไม่ออกเลย แต่ก็พอจำได้บ้าง ส่วนการร้องเพลง ร้องหลายรอบจนเสียหลงเลยแต่สนุกดีค่ะ ได้ฝึกร้องไปด้วย อยากให้มีเพลงจังหวะเร็วๆ
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด หัวเราะไม่หยุดทำให้บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียดรู้สึกชอบผ่อนคลาย เวลาร้องเพลงเป็นกลุ่มเพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี บางคนก็เสียงดี บางคนก็ร้องเพี้ยน พอฝึกร้องหลายๆรอบ ทุกคนก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน แชร์ประสบการณ์การไปออกค่ายมาซึ่งนำความรู้ เรื่องราวดีๆมาแบ่งปันกัน เสียงอาจารย์ร้องเพลงน่ารักค่ะ เสียงนุ่มๆใสๆ น่าฟัง

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  5 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 1ุ กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4

     วันนี้เป็นชั่วโมงแรกที่เรียนวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์อาจารย์ชี้แจงแนะแนวการเรียนการสอนในรายวิชานี้อย่างละเอียด ทั้งพูดถึงการเก็บคะแนน การทำงานต่างๆ และร่วมพูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ วันนี้ไม่มีอะไรมากเพราะเป็นวันแรกของการเปิดเทอม


การประเมินผล
  • การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบาย รู้สึกดีใจที่ได้เรียนกับอาจารย์อีก
  • การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด หัวเราะไม่หยุดทำให้บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียดรู้สึกชอบผ่อนคลาย
  • การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนานไม่เครียด