บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 19 มกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
อาจารย์ทบทวนการร้องเพลง โดยให้ร้องเพลงหนึ่งรอบก่อนเข้าเนื้อหา ซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้ มีดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 104
เวลาเข้าเรียน 12:20 – 15:50 น. ห้อง 435(จษ) อาคาร 4
อาจารย์ทบทวนการร้องเพลง โดยให้ร้องเพลงหนึ่งรอบก่อนเข้าเนื้อหา ซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้ มีดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education) เชื่อว่ามีในไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา อาจจะเข้ามาวิชา พละ, ศิลปะ, ดนตรี
- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
- เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
- การศึกษาสำหรับทุกคน
- รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา (ต่างจากเรียนร่วม)
- จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เรียนร่วม เด็กพิเศษคนนั้นจะอยู่ในความดูแลของหน่วยงานหรือศูนย์การศึกษาพิเศษ หน่วยงานประสานกับโรงเรียนเพื่อขอให้เด็กเรียนร่วมกับเพื่อนๆ
เรียนรวม เด็กพิเศษเข้ามาในโรงเรียนเลยตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ได้อยู่ในสังกัดของหน่วยงาน หรือศูนย์การศึกษาพิเศษ
Wilson, 2007 ได้ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน ซึ่งเน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม ทำให้สังคมดีขึ้น เริ่มต้นจากครอบครัว ในห้องเรียน และกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
มีผลงานวิจัยออกมาว่า การศึกษาพิเศษ และการศึกษาแบบเรียนรวม ผลที่ออกมาเด็กมีพัฒนาการเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กจะมีทักษะทางด้านสังคม การใช้ภาษาร่วมกับเพื่อน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของเขา
- เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for all)
- การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก (โรงเรียนไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเด็ก)
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ "รวมกัน" ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุคนยอมรับซึ่งกันและกัน
- ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้" (เป็นวัยที่สอนได้ง่าย)
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด ความหมายของประโยคที่ขีดเส้นใต้ คือ สิ่งที่มาขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ต้องน้อยที่สุด
หลังจากเรียนเสร็จท้ายคาบอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ตอบคำถามทบทวนความรู้ที่ได้เรียนไป มีทั้งหมด 3 ข้อ โดยห้ามดูในชีส
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้เด็กทั้งปกติและเด็กพิเศษ การจัดแบบเรียนรวมเน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม ทำให้สังคมดีขึ้น เริ่มจากในห้องเรียน จัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้เด็กทั้งปกติและเด็กพิเศษ การจัดแบบเรียนรวมเน้นวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในสังคม ทำให้สังคมดีขึ้น เริ่มจากในห้องเรียน จัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
การประเมินผล
- การประเมินตนเอง - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา สนุกสนานเฮฮาที่อาจารย์สอนให้ทำท่าทางในการปรบมือร้องเพลง เวลาเรียนตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอนและจดบันทึกรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากในชีส และตั้งใจทำกระดาษตอบคำถามท้ายคาบด้วยตนเอง
- การประเมินเพื่อน - การแต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกระเบียบ เพื่อนๆเฮฮากันตลอด หัวเราะไม่หยุดทำให้บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียดรู้สึกชอบผ่อนคลาย ตอนร้องเพลงทุกคนจำทำนองจังหวะได้และดูทุกคนตั้งใจปรบมือให้ความร่วมมือกันอย่างสามัคคี ผลงานที่ออกมาได้รับคำชม
- การประเมินอาจารย์ - การแต่งกายสะอาดสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง พูดคุยสนุกสนาน มีการสอนเทคนิคการปรบมือให้ดูดีมุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง และการสอนอาจารย์อธิบายละเอียด ทำให้รู้ว่า เรียนรวมกับ เรียนร่วมนั้นความหมายต่างกัน และมีการแชร์เล่าประสบการณ์ต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น